Is the home rent for employees deductible for business?

Is the home rent for employees deductible for business?

ค่าเช่าบ้านจ่ายให้พนักงานอยู่หักเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ไม๊

จากการที่อยู่ในวงการบัญชีธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง หลากหลายประเภทให้กับกลุ่มคนเจ้าของธุรกิจ  คำถามที่เป็นที่นิยมชมชอบกันมากคือ “เนี่ย ชื่อบ้านในนามบริษัทให้พนักงานอยู่ได้หรือไม่”  แต่เนื่องจากบ้านแพง คำถามนี้จะมาแรงกว่า “เช่าบ้านในนามบริษัทหักค่าใช้จ่ายได้ไม๊ เอาให้พนักงานอยู่นะ”.

ก็กลุ่มลูกค้าเรานี่แหละคะ ถามมาทุกรายและทุกปีสำหรับรายใหม่ ๆ สำหรับรายเก่า ๆจะอธิบายให้ฟัง สองรอบค่ะ ถ้ารอบสามจะเลิกตอบแระ และจะเอาข้อความที่ตอบส่งให้ต่อค่ะ และบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีกฏหมายภาษีอากรเปลี่ยนแปลง.  

อยากให้ชัดเจนกันไปนะคะ สำหรับเจ้าของธุรกิจรายอื่นๆ ที่อาจจะมีความรู้กันพอสมควร ที่นักบัญชีคุณคงแจ้งกันมาแล้ว  สำหรับพนักงานเอง ต่อไปในภาคหน้ามีโอกาสได้เป็นเจ้าของกิจการก็จะได้ตอบคำถามทีมงานได้ถูกน้องนะคะ. 

ณ ปัจจุบัน การให้สวัสดิการบ้านพัก หรือสวัสดิการด้านอื่นๆ ต้องถือเป็นรายได้ของพนักงานค่ะ.  รูปแบบการจ่ายค่าเช่าบ้าน หรือซื้อบ้านนั้นแทบไม่สำคัญค่ะ  ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสด ควักจากกระเป๋าเจ้าของ ลูกน้องจ่ายเองนายจ้างตั้งเบิก  จ่ายจากบัตรเครดิตของร้าน หรือของเจ้าของกิจการ จ่ายจากแบงค์โดยตรงของกิจการโดยการหักบัญชีแบบชัดเจน  ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม  มันก็เป็นรายได้หมดละค ต้องรายงานในฟอร์ม W2 – wage summary at the end of the year คะทุกท่าน พึงโปรดทราบกันทั่วหน้านะคะ.  

อุ๊ย แล้ว ดิฉันจะซื้อบ้านฉันเอง ให้พนักงานอยู่ได้ไม๊  ได้สิค่ะ ถ้าไม่มีการเรียกเก็บค่าเช่าหรือไม่มีการเอาเงินร้านไปผ่อนบ้าน นะคะ.  

บ้านคุณเอง คุณจะให้ใครอยู่ได้หมดค่ะ ไม่มีใครมาห้ามค่ะ  ดีด้วยอีกนะคะ ถ้าเป็นบ้านหลังที่สองคุณก็ใช้ดอกเบี้ยมาหักออกส่วนตัวได้  พอเลิกกิจการ ขายบ้านหลังแรก ได้รับยกเว้นภาษีที่ $250,000/person/2 years ขายแล้ว มาอยู่บ้านหลังที่สอง มาอยู่สักสองปี ได้รับยกเว้นกำไรอีก  ต้องวางแผนแบบนี้ละคะ. 
ฉันจะซื้อบ้านในการทำธุรกิจได้ไม๊  ก็ได้อีกค่ะ เหมาะกับคนทำบ้านเช่า  แล้วถ้าให้พนักงานอยู่แล้วใช้กิจการซื้อนะ  ก็ได้นะคะ ถือเป็นทรัพย์สินกิจการ หักค่าเสื่อมได้ แต่ต้องประเมินราคาบ้านเป็นค่าเช่าตามราคาตลาด แล้วเอารายงานในระบบค่าแรงพนักงานเหมือนกับการเช่าเลยคะ. 

 

ทำไมคุณนักบัญชีเรื่องมากจังเลย  ไม่ได้เรื่องมากค่ะ กฏหมายว่ามาแบบนี้ เราจะทำไงกันไดละคะ เรามีหน้าที่ปฏิบัติตามกันค่ะ.    แต่สวัสดิการต่างๆ ก็มีหลายตัวคะที่ได้รับยกเว้นภาษี  ดังต่อไปนี้ค่ะ  สังเกตุด้วยนะคะ บ้านเช่า นี่ไม่เห็นแม้กระทั่ง เงา จางๆ ในกลุ่มยกเว้นเลยค่ะ.

คัดลอกมาจกาเวบไซด์ ของกรมสรรพากรอเมริกาให้อ่านกันแบบชัดเจนค่ะ

2. Fringe Benefit Exclusion Rules สวัสดิการที่ได้รับยกเว้นภาษี

This section discusses the exclusion rules that apply to fringe benefits. These rules exclude all or part of the value of certain benefits from the recipient’s pay.

In most cases, the excluded benefits aren’t subject to federal income tax withholding, social security, Medicare, federal unemployment (FUTA) tax, or Railroad Retirement Tax Act (RRTA) taxes and aren’t reported on Form W-2.  สวัสดิการด้านล่างนี้ ไม่มีภาษี หัก ณ ที่จ่าย ไม่มีหัก social security & Medicare  และไม่ต้องรายงานในฟอร์ม W2

This section discusses the exclusion rules for the following fringe benefits.

  • Accident and health benefits.  ค่าประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ
  • Achievement awards. รางวัลต่างๆ
  • Adoption assistance. ใครที่มีนายจ้างช่วยจ่ายค่าทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมหรือลูกเลี้ยง
  • Athletic facilities. สถานที่สำหรับออกกำลังกายให้นักกีฬา
  • De minimis (minimal) benefits. สวัสดิการเล็ก ๆ น้อยๆ ๆ
  • Dependent care assistance.  ค่าเดแคร์ที่กิจการจัดหาให้หรือนายจ้างช่วยจ่ายให้พนักงาน
  • Educational assistance. นายจ้างจ่ายค่าเทอมให้
  • Employee discounts.  ส่วนลดของพนักงาน
  • Employee stock options. ออชั่นที่ให้พนักงานเอาไว้ซื้อหุ้นได้
  • Employer-provided cell phones. กิจการมีโทรศัพท์ฟรีให้ใช้
  • Group-term life insurance coverage.  ประกันชีวิตหมู่
  • Health savings accounts (HSAs). ไม่แปล
  • Lodging on your business premises. กิจการจ่ายค่าที่พักค่าโรงแรมเวลาไปทำงานนอกเมือง
  • Meals.ค่าอาหาร
  • No-additional-cost services. ค่าสวัสดิการที่ไม่มีต้นทุนเพิ่ม ตัวอย่างนะคะ เราทำงานที่โค๊ก เราซื้อของตามต้นทุนผลิตค่ะ
  • Retirement planning services.  เงินสมทบรีไทเม้นให้กับพนักงาน
  • Transportation (commuting) benefits.  ค่ารถรับส่งพนักงาน
  • Tuition reduction. ส่วนลดค่าเทอมอันนี้คือคนทำงานในวิทยาลัยนะคะ
  • Working condition benefits. ตัวนี้ไงที่จะบอก คือเช่าบ้านให้พนักงาน คือบริษัทรับงานก่อสร้าง หลายๆ รัฐอันนี้แหละค่ะ เพราะมันไม่ถาวร เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ เขาให้ได้รับยกเว้น  หรือ แนนนี่นายจ้างมีบ้านให้อยุ่ พักอยู่บ้านอันนี้ไม่ถือเป็นรายได้พนักงาน  บริษัทขายปลา ให้พนักงานไปตกปลา ไรแบบนี้ละคะไป ล่า salmon in Alaska แบบนี้เลย ได้รับสวัสดิการบ้านพักฟรี และนายจ้างไม่ต้องรวมใน W2

หัวข้อนี้ดึงมาจากของเอกชนทีสรุปได้ดีและยกตัวอย่างให้ค่ะ

โดยทั่วไปสวัสดิการบ้านพักถือว่าเป็นรายได้ของพนักงานเพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน แต่มีข้อยกเว้น ถ้ากิจการทำเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • The housing is provided on the property owned by the business or employer  บ้านต้องเป็นของกิจการ
  • The housing is provided for the convenience of the employer. The employer must have a “substantial business reason” for this, such as a remote work location. จัดบ้านให้พนักงานอยู่ เพราะว่ามีเหตุผลสำคัญทางธุรกิจ กลับบ้านตัวเองไม่ได้  (ถึงว่าร้านอาหารไม่อยู่ในข่าย แต่ก่อสร้างที่ย้ายสถานที่ไปเรื่อยๆ อยู่ในขอบข่าย)
  • The employee must accept housing as a condition of employment. A condition of employment is an agreement at the beginning of employment by both employer and employee. เงื่อนไขเกี่ยวกับการที่นายจ้างมีบ้านพักให้อยุ่ในสัญญาจ้าง แต่เริ่มต้นเลย.  ไม่กล้าแนะนำร้านอาหารให้เสี่ยงทำในจุดนี้ เพราะนี่ถึงมาอีกรอบจากของเอกชน จากที่ระบุในกรมสรรพากรอเมริกา กลุ่มที่ได้รับยกเว้น จะเป็นกลุ่มอาจารย์สอนใน แคมปัสที่มีบ้านพักให้  กลุ่มคนสอนศาสนาที่มีบ้านพักให้ ลักษณะนี้มากกว่า ยังไม่เคยเห็นมีเอกชนกล้าทำกันเลยคะ.

ตัวอย่างที่ว่าได้รับยกเว้นสวัสิการค่าบ้านไม่ถือเป็นรายได้: 

  • Fishing employees who live on a boat provided by the company พนักงานที่อาศัยในเรือที่มีอาชีพตกปลา
  • A construction employee who works at a remote location that has no other housing available คนทำงานหน่วยงานกอสร้าง ที่ไปไกล ๆ แล้วกิจการมีสวัสดิการบ้านพักให้ เขาต้องจากบ้านจากเมืองเนาะ  ถึงว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง หักค่าบ้านค่าไรได้หมด เวลาไปทำงานนอกเมือง
  • A live-in nanny who must care for children at all hours  อันนี้ก็แบบแนนนี่ทั่วไปที่พักในบ้านของเจ้านายเอง.

อุ๊บ อันนี้ต้องระวัง เพราะ ให้เหตุผลว่า ฉันเช่าบ้านให้พนักงานอยู่ เพราะ เขาต้องเดินทางไกลนั้น ไม่ถือว่า อยู่ในขอบข่ายด้วยนะคะ.  เงื่อนไขนี้ได้มีการตีความออกมาคือ พนักงานต้องอยู่ในสถานที่เจ้านายจัดหาให้ ไม่งั้นทำงานไม่ได้  (งานนี้ ชัวร์เลย เช่าบ้านให้พนักงานทำร้านอาหาร ร้านนวด ไม่ได้นะคะ)

 

Restrictions on Housing Benefits  ข้อจำกัดในการทำบัญชีการทำแบบเอกสารต่างๆ ในทางภาษีอากร

  • Employee housing can’t be included in a cafeteria benefits plan. These are separate benefits and they must be taxed separately สวัสดิการบ้านพัก ไม่สามารถ รวมใน แผน cafeteria benefits plan
  • If you pay employees a housing allowance or allow the employee to take extra pay instead of providing them housing, it’s taxable to the employee, even if on-premises housing is one of the options แม้ว่าสวัสดิการบ้านเช่ามีให้พนักงานทุกคน คนที่ไม่เอามีบ้านเอง และขอเงินเพิ่มก็เอาไปคำนวณภาษีไม่ได้ เหมือนคนไปตกปลา อลาสก้าเงี๊ย เขามีญาติที่นั่นพักบ้านญาติ ก็ไปขอเงินจากกิจการค่าบ้านได้  แนนนี่เช่นกัน ถ้าไม่พักบ้าน โฮส ก็ไปพักบ้านแฟน ฟรี แล้วถ้านายจ้างจ่ายค่าบ้านให้ก็ไม่ถือเป็นรายได้เขานะคะ.
  • Housing as part of an education benefit is considered taxable to the employee  ถ้าค่าบ้านอยู่รวมในวัสดิการค่าเทอม ถือว่าเป้นรายได้  สำหรับค่าเทอมนั้น 5000 แรกจะไม่ต้องรายงานค่ะ ให้ได้เลย ถ้ามากกว่า ห้าพันหน่อย ๆ ถึงรายงาน.

ะเกษียณไทยต้องวางแผนแต่เนิ่น ๆ ค่ะ เช่นอีก สิบปีจะกลับไทย จะไปอยู่ที่ไหน ของประเทศไทย มีบ้านไม๊มีที่มีทางหรือไม่  อยุ่ใกล้โรงพยาบาลไม๊ เผื่อเจ็บไข้ได้ป่วย บางคนมีสามีทหารเก่า ก็ต้องรักษาตัว บางโรงพยาบาลในเมืองใหญ๋ ๆ รับประกันสุขภาพของ VA ด้วยค่ะ ดีงามกันไปเลย.  สำหรับเรา คงต้องเอกชนนะหละค่ะ หาซื้อประกันสุขภาพปกติ แบบพี่ที่นับถือแนะนำว่าซื้อแบบป้องกัน หนัก ๆ ก็บินมาอเมริการักษาตัว แต่บ้านเราการแพทย์ก็ดีงามค่ะ ขอใหมีเงินจัดการได้หมดค่ะ  ดูและรักษาสุขภาพตัวเองก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วนะคะ..

Comments from author:

หวังว่าท่านผู้มีอุปการะคุณทั้งหลายจะได้คำตอบที่ชัดเจนกันนะคะ  สำหรับคนที่ตั้งใจจะทำธุรกิจแล้วจะมีสวัสดิการบ้านพัก ก็เตรียมใจให้พร้อมค่ะ ตกลงกับพนักงานแต่ต้น เช่น กลุ่มนักลงทุนที่มีสวัสดิการบ้านพักให้เขา  ก็แจ้งว่าเป็นรายได้พนักงานนะคะ  จะได้ไม่งงกัน เพราะระบบที่นี่จะแตกต่างกับที่เมืองไทยมาก  ทุกอย่างว่ากันไปตามกฏระเบียบ  การทำบัญชีก็ทำกันเล่มเดียวค่ะ ไม่มีกันสองสามเล่ม  ถามว่าศึกษากันดี ๆ ด้านภาษีอากร ช่องโหว่ก็เยอะพอสมควรค่ะ  หนทางและวิธีการประหยัดภาษีแบบถูกต้องก็มีกันเยอะแยะไปนะคะทุกท่าน

“Hope you all having great employees”

ที่มา                    :   IRS Publication 15-B (2020), Employer’s Tax Guide to Fringe Benefits, the balance.com

  

เรียบเรียงโดย          : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (US CPA ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต)

 

วันที่                    :  วันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓, Wednesday, February 19th, 2020

**** S Corp & LLC due date March 15th****

*** Corporation due date April 15th ***

** Individual due date April 15th **

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ