E2 101 Part IV – What business should you purchase?

E2 101 Part IV – What business should you purchase?

ธุรกิจแบบไหนที่คุณควรซื้อเพื่อจะมาลงทุน

สวัสดีค่ะ กลุ่มนักลงทุนในอนาคต นักลงทุนปัจจุบัน ที่กำลังมองหาการลงทุนเพิ่ม การขยายกิจการโดยการไป ซื้อธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว.  เนื่องจากเห็นน้อง ๆ นักลงทุนจากไทยหลายรายต้องพับเสื่อกลับไทยไปเพราะการเจรจาต่อรองไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีเหตุผลหลายประการ ผลการดำเนินงานของกิจการก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณาอย่างมากด้วยค่ะ.  ผู้เขียนเป็นนักบัญชีและเห็นงบการเงินของกิจการพร้อมกับการเสียภาษีมาเยอะพอสมควรในระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา. จึงอยากแชร์ให้ทุกคนทราบจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาเจรจาต่อรองค่ะ.

กิจการที่ควรซื้อนั้น ไม่จำเป็นต้องว่ายอดขายจะสูงลิบลิ่ว หรือต้องมีกำไรเท่านั้น.  ดูหลายๆ อย่างค่ะ.

Gross sales & Net profit ยอดขายและกำไรสุทธิ

มีข่าวลือรุนแรงมากว่าขายนั้นต้องมากกว่า $500,000 ณ ปัจจุบันถึงจะได้มีซ่าลงทุนมา.  จากประสบการณ์ล่าสุดที่ทั้งนักลงทุนมือใหม่และ การต่อวีซ่า  ยอดขายต่ำกว่า ห้าแสนหมดค่ะ หรือว่าเราอาจจะไม่ได้เห็นเป็น ร้อยๆ เคสนะคะ ไม่เกิน สิบเคสค่ะ ที่เห็น ระยะครึ่งปีที่ผ่านมา. นี่พูดถึงการขอวีซ่าจากไทยนะคะ.  ยอดสามแสนกว่านะคะที่เห็น มียอด ระหว่าง สามแสนขึ้นไปคะ และผลกำไร หลังหักค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ ทะลุเพดาน  ทุกอย่างสมเหตุผลนะคะ.  เช่น มีการจ้างงงานเยอะ ๆ การจ่ายเงินผู้บริหาร ที่เป็นนักลงทุน ทำให้ผลกำไรน้อยก็มีค่ะ ซึ่งก็ชี้แจงได้ถ้ามีการถาม  ซึ่งไม่ได้มีการถามนะคะในช่วงสัมภาษณ์  ท่านกง ถามว่า มีแผนจะปรับปรุงไง  ก็วางแผนการตลาดใหม่ ๆ เอา 3rd parties มาช่วย หวังว่าจะดีขึ้น. นี่คือคำตอบค่ะ. 

ถ้ากิจการที่ซื้อยอดขายมหึมา แต่ขาดทุน คุณทำไง คุณควรจะทำแผนธุรกิจที่เห็นการพัฒนาของผลกำไรค่ะ  ไม่ใช่ทำแผนขาดทุนตลอด ทำแผนขาดทุน มาทำไมละคะ ทำแล้วไม่ได้กำไร  เว้นแต่ว่าวางแผนหนีภาษีเต็มที่ อย่าให้เจ้าหน้าที่คิดแบบนั้นเลยคะ มันไม่ดีต่อคุณเอง.  

Business Tax Fillings การยื่นภาษีของธุรกิจ

เคยเขียนไปหลายรอบนะคะ เรื่องการยื่นภาษี ซึ่งมีทั้งภาษีขายที่ต้องนำส่งทุกเดือน ภาษีค่าแรงที่หักไว้จากพนักงาน ภาษีธุรกิจ นำส่งปีละครั้ง.  สามจุดหนี้สำคัญมากค่ะ เพราะต้องมีแสดงในการขอวีซ่าลงทุน  ถ้าไม่มีละ  จะผ่านหรือคะ ไปซื้อกิจการมาแล้วไม่ยื่นแบบ คุณจะอ้างไง  เรื่องก็ตกไปละคะ.  ยังไม่เคยเห็นเคสที่ไม่ยื่นแบบภาษีแล้วได้มาซึ่งวีซ่าลงทุนเลย (อาจจะเพราะไม่เคยเห็นเป็น พัน ๆ เคสนะคะ).   ธุรกิจบางแห่งการทีจะเปิดเผยสิ่งเหล่านี้ได้ อาจจะมีการเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล ถ้าทำผ่าน โปรกเก้อ ฝรั่งทั่วไป  แต่คนขายเขาให้งบการเงินค่ะ โปรคเก้อ ใหญ่คับเตี่ยวนี่แหละคะ แต่ต้องเซ็นเอกสารเยอะแยะ.   คนอยากขายเขาก็ให้หมดละคะ. 

ให้ระวังกิจการที่บอกว่ายอดขายเยอะนะคะ พอถามหาการรายงานภาษีขายแต่ละเดือน ไม่มีค่ะ รู้ได้เลย พวกนี้หลบภาษีค่ะ  ไม่เกิน ปีครึ่ง ทาง กรมสรรพากรอเมริกาถามหาแน่นอนค่ะ  เขาถึงทำกิจการได้ปี สองปีขายทิ้งหนีกัน  แต่คณคะ ถ้าคุณไปซื้อกิจการต่อ ในทำเลที่ตั้งเดียวกัน คุณจะได้รับจดหมายตลอดว่าเจ้านี้ไม่จ่ายภาษี อย่าเลยคะ ปวดหัว แถม ทรัพย์สินในกิจการ อาจจะถูกยึด คุณต้องเสียเวลา หาทนาย หรือ ซีพีเอทำเรื่องชี้แจงเรื่องภาษีกันปวดหัวค่ะ เลี่ยงได้เลี่ยงนะคะ. อย่าไปยุ่งกับกิจการที่ทำไรไม่ตรงไปตรงมา.  จริงค่ะ ไม่มีใครเสียภาษีเต็มที่ แต่ไม่ใช่ไม่เสียเลย  เช่นนะคะ การยื่นภาษีขาย ก็มีการหักส่งคืนส่วนลดก็ว่ากันไป ดูสมน้ำสมเนื้อไม่น่าเกลียด มันเป็นเรื่องปกติที่ธุรกิจมีการคืนเงินหรือส่วนลดให้ลูกค้าถูกปะคะ ถ้าเห็นรายงานพวกนี้คือปกติค่ะ แต่ไม่ใช่ บอกขาย ห้าหมื่นต่อเดือน รายงานภาษีแค่หมื่น อันนี้น่ากลัวมากค่ะ.  มีคนเยอะแยะไปคะที่อยากขายกิจการและทำไรตรงไปตรงมาและไม่หลบจนน่าเกลียด.

อีกอย่างหนึ่งคือ ยอดขายเยอะมาก ร้านขนาดใหญ่ แต่ไม่มีการยื่นภาษีค่าจ้างพนักงานเลย แล้วคุณจะไปชี้แจงยังไงค่ะ เพราะการยื่นขอวีซ่าลงทุน คุณต้องทำผังองค์กรแสดงว่าใครตำแหน่งไร ทำไรนะคะ ใช่ จู่ ๆ คุณจะบอกไม่มีทำเองได้หมด.    มีเคสที่ร้านยอดขายไม่เกิน สองแสนห้า ไม่มีการจ่ายค่าแรงพนักงาน อันนี้ชี้แจงไปว่าธุรกิจครอบครัว ซึ่งมันก็สมเหตุผล เพราะมีลูก สามสี่คน ก็ว่ากันไปเนอะ วีซ่าก็ได้มานะคะ เพราะยอดไม่เยอะ   แต่นักลงทุนคนนั้นต้องทำแผนว่าจะมีการจ้างงานนะคะ เพราะนักลงทุนโสด จะติต่างจ้างญาติใด ๆ ก็ไม่ได้ เห็นปะคะ ทำไรต้องสมเหตุสมผล.

ภาษีกิจการ นี่ยิ่งแย่เลยถ้าไม่ยื่น น่าสำคัญมาก ไปซื้อกิจการแล้วไม่ยืนแบบภาษีกิจการ  จะอ้างว่าทำคนเดียว ไม่ได้นะคะ แม้ว่าเจ้าของคนเดียวก็มีภาษีกิจการแยกในแบบ ฟอร์ม 1040 ในฟอร์มนั้นจะมี Schedule C ที่ระบุว่ามีกิจการนะคะ  พึงสังเกตุไว้เลย.  ถ้าไม่รู้เรื่องไร หานักบัญชีภาษีเข้ามาอธิบายขยายความค่ะ ใช่จู่ๆ จะไปซื้อกิจการ สุ่มสี่สุ่มแปดยุ่งกันไปเลย.

Comments from author:

ตอนนี้เป็นโอกาสดีของนักลงทุนจากไทยที่จะมาลงทุนในอเมริกา เพราะค่าเงินบาทแข็งตัวมาก เงินบาทน้อยสามารถซื้อกิจการที่มูลค่าสูงมากขึ้น.

ทำธุรกิจควรศึกษาให้ดีนะคะ ใช่จู่ ๆ คุณมีเงินจะทำได้หมด  คุณต้องมีทีมงานที่คอยช่วยเหลือ ทั้งทางด้านการเงิน การบริหาร การจัดการ ต่างๆ ทำไรไม่เป็นเลยก็หัดหาข้อมูล และรู้จักคนที่ทำเป็นค่ะ.  ผู้เขียนเห็นทั้งคนที่ประสบความสำเร็จและล้มหลายในวงการพอสมควรคะ เพราะอยู่ในวงการก็พอสมควรค่ะ.  เห็นหลายคนติดต่อธุรกิจไว้เยอะแยะพอมาอเมริกาด้วยวีซ่าชั่วคราวท่องเที่ยวมาหาดูกิจการ ก็ไม่ได้กิจการก็มีเพราะติดปัญหาหลายอย่าง.

ขอให้ทุกคนเจอคนดีจริงใจในการซื้อขายกิจการค่ะ”

ที่มา                    : ประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษาของนักลงทุน

 

เรียบเรียงโดย          : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                    :  วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคมพ.ศ. ๒๕๖๒, (ยังมีเวลายื่นภาษีออนไลน์ ถึง 15 ตุลาคม นะคะ สำหรับบุคคลธรรมดา)

Thursday, October 17th, 2019

Disclaimer: คำเตือนสำหรับผู้อ่าน

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**

**Please seek advice from Attorneys in your area for any legal issues.

** ถ้ามีปัญหาเรื่องกฏหมายในรัฐที่คุณอยู่ให้ติดต่อทนายความโดยตรงในรัฐนั้นคะ. ถ้าเรื่องถึงศาลทนายต้องมีใบอนุญาตในรัฐนั้น ๆ นะคะ. เรื่องทั่วไปเช่นอิมมิเกรชั่นใช้ทนายข้ามรัฐข้ามประเทศได้คะ