Married retired Americans (>= 62 ½ ) , young children and benefits

Married retired Americans (>= 62 ½ ) , young children and benefits

แต่งงานกับหนุ่มอเมริกันที่เกษียณแล้วและมีลูกด้วยกัน มีผลประโยชน์อะไรบ้าง

 

มีคำถามมาเยอะมากค่ะ ทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์ อีเมลล์ ส่งข้อความหาส่วนตัวเรื่อง สิทธิประโยชน์ สวัสดิการจาก social security benefits ของแต่ละกรณี. ที่ย้ำแต่ละกรณีคือ เคสแต่ละคนไม่เหมือนกันค่ะ มีทั้งแต่งงานกัน มีลูกติดจากเมีย ลูกติดจากอเมริกันเอง ไม่มีลูกด้วยกัน ทั้งยังมีชีวิตและเสียชีวิต ว่าได้สวัสดิการยังไง เท่าไร นานเท่าไร ใครได้บ้าง.  บางคนถามมาแบบสับสนวุ่นวายมาก ทั้งที่บอกว่าให้แยกออกเป็นประเด็น และต้องบอกให้เล่าถึงสถานการณ์ของตัวเอง ไม่ต้องมาสมมุติ เหตุการณ์ไรทั้งนั้นเลย  แถมเราก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่แนะนำให้ได้แค่เบื้องต้น.

 

หัวข้อนี้จะย้ำ เฉพาะ ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ อายุไม่เกิน 18 ปีนะคะ  และมีกรณีที่สามีเสียชีวิตและทั้งยังมีชีวิตอยู่ และสามี อเมริกัน มีอายุมากกว่า 62 ½ qualified to receive social security benefits คือมีคุณสมบัติที่ได้รับสวัสดิการหรือรับสวัสดิการอยู่เท่านั้นนะคะ. 

 

แต่งงานที่ไทยและมีลูกที่ไทยกับสามีอเมริกา marrying in Thailand and kids born there:

 

 

  • ให้แจ้งเกิดลูก ๆ ให้เรียบร้อยกับสถานทูตคะ  พร้อมขอเลข Social Security Number (SSN) อเมริกันทุกคนจะมีเลขนี้ค่ะ

 

  • พอได้เลขให้ติดต่อขอรับสวัสดิการจากสำนักงานที่ฟิลิปินส์  ติดต่อผ่านอีเมลล์หรือโทรศัพท์  แต่จะมีการยื่นเอกสารผ่านยังสถานทูตอเมริกาที่ไทยค่ะ.  เรียบร้อย น้อง ๆ จะได้สวัสดิการครึ่งหนึ่งของพ่อค่ะ จนกว่าน้องอายุ 18 ปี แม้ว่าน้องอยู่ที่ไทยน้องก็ได้เงินค่ะ

 

  • สำหรับแม่ ที่แต่งงานที่ไทย ยังไม่เข้ามาอเมริกา ไม่เคยมี กรีนการ์ด ไม่เคยปรับสถานะจนได้ Social Security Number (SSN) แม่จะได้ไม่ด้รับสวัสดิการใด ๆ ทั้งที่มีลูกเล็ก ๆ  หรือเมื่ออายุ 62 ปีครึ่ง ตามอายุเกษียณของคนที่อเมริกานะคะ.

 

  • ถ้าแม่อยากได้สวัสดิการ แม่ต้องย้ายมาอยู่อมเริกา ห้าปีค่ะ มีกรีนการ์ด สอบซิติเซ่นให้ได้ค่อยกลับไทย เพราะถ้ามีแค่กรีนการ์ด มันมีหมดอายุคะ ไม่ต่อก็ขาด สวัสดิการอะไรก็ไม่ได้ค่ะ.

 

แต่งงานที่อเมริกา มีลูกติดด้วยมีลูกด้วยกันด้วย marrying in US and with step child (spouse’s children with previous husband)

 

  • ถ้าแม่มาอยู่อเมริกาแม่ มีกรีนการ์ด แม่ขอรับสวัสดิการได้ค่ะ ไปที่สำนักงานประกันสังคม หรือ social security office nearby your area ให้ผัวพาไปค่ะ ฮีรู้ เพราะฮีก็รับอยู่ 

 

  • ส่วนลูกติด จากที่อ่าน บางรายไม่ได้อุปถัมภ์แบบถูกกฏหมายก็ได้สวัสดิการ บางรายต้องอุปถัมภ์แบบถูกกฏหมายเท่านั้น ถ้าน้องยังเล็ก ๆ เหลือ เวลา มากกว่า สิบปี ก็คิดดูว่าควรจะให้สามีใหม่ รับเป็นบุตรบุญธรรมหรือไม่ อย่างไร  ถ้าเงินไม่เยอะก็ไม่ต้อง บางคน รับ เดือนก็ สองสามพันเหรียญ เด็กรับครึ่งหนึ่ง ก็พันเหรียญ แม่ได้อีก พันเหรียญ  อย่าเอาแค่เรื่องเงินมาเป็นปัจจัยนะคะ.

 

  • ลูกตัวเอง กับฝรั่ง รับที่ไหนก็ได้ ตราบใดที่เขาเป็นอเมริกัน (มีบางกรณี ไม่ได้แจ้งเกิด น้อง ๆ ก็ไม่ใช่อเมริกัน).

 

เรื่องสวัสดิการนี้ ขอความกรุณาไม่ส่งคำถามมาหลังไมค์นะคะ  มีคำถามตอบกันไว้เยอะมาก โดยเฉพาะที่ฟอรัมในกลุ่มกฏหมาย  และ ทาง บลอค ที่แหวนเขียนไว้เองค่ะ.  ไม่ได้ รับเกียจ ใด ๆ ค่ะ แต่คุณควรจะช่วยเหลือตัวเอง  เพราะเราไม่ได้มานั่งตอบคำถาม ทั้งวัน ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเช่นคุณ ๆ   ถ้าเรื่องลึกลับซับซ้อน หาข้อมูลที่ไหนไม่ได้  ก็พอจะช่วยได้บ้างค่ะ  แต่เท่าที่ทราบ เรื่องของสวัสดิการนี้ ไม่มีความลับใด ๆ  ใครๆ มีสิทธิก็ไปขอรับได้ตามกฏหมาย ไม่ต้องอาย มันเป็นสิทธิที่เราพึงมี เพราะสามี หรือ ผัวเราทำงานมานำส่ง เรามีสิทธิ์ได้ค่ะ.

 

**  สวัสดิการไม่ใช่ของฟรี  กว่าคนที่จะได้มาต้องทำงานอย่างน้อย สิบปี มี สี่สิบเครดิต ถ้าทำงานแค่สิบปี ก็ได้น้อยนิด  บางคน ทำงานมาตลอดชีวิต กว่าจะได้เงิน เดือน พัน สองพัน กว่าเหรียญค่ะ ทำมากได้มาก ส่งน้อยได้น้อยนะคะ   สำหรับคนทำงานอยู่ สังเกตุ ว่า เรามี social security & medicare หักไว้ใน payroll slip  **

 

ที่มา                             :  จากประสบการณ์ในการหาข้อมูล ตอบคำถามสารพัด มาหลายปี

 

เรียบเรียงโดย               : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

 

วันที่                             :  วันอังคารที่  ๔ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑, 

Tuesday, September 4th  2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**