Why you should have “Emergency Fund”?

Why you should have “Emergency Fund”?

เงินที่มีไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

________________________________________________________

 

หลายคนโดยเฉพาะกลุ่มที่รอบคอบในการดำเนินชีวิต จะเข้าใจคำว่า Emergency fund หรือเงินสำรองฉุกเฉินไว้เป็นอย่างดี.   นิยามโดย ผู้เขียนและความเข้าใจส่วนตัวคือ “เงินที่มีเก็บไว้ใช้เมื่อฉุกเฉิน เมื่อจำเป็น เมื่อมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่เราไม่เคยคิดว่าจะเกิด เช่น อุบัติเหตุ ป่วย (รวมถึงญาติป่วยที่เราต้องช่วยเหลือ)  ไม่รวมถึง มือถือราคาแพง สำหรับให้ลูก ๆ ที่เรียนอยู่  ที่สำคัญคือเมื่อขาดรายได้ อาจจะเนื่องจาก ถูกให้ออกจากงาน ออกจากงานเองเพราะสาเหตุส่วนตัวหลายๆ  อย่าง.

 

What should I do I only make this much – ฉันจะทำไงได้ล่ะ รายได้ฉันก็เท่านี้

 

เป็นคำถามที่ตอบยากมาก คนไม่อยู่สถานการณ์นั้น ๆ แทบจะไม่รู้ เช่น คนหาเช้ากินค่ำ ทำงานคนเดียว เลี้ยงลูก สามคน ไม่มีสามี แค่อยู่ไปวัน ๆ ก็ลำบากแล้ว  กรณีแบบนี้ ให้ขอสวัสดิการจากรัฐช่วยเหลือ น้องๆ ลูก ๆ ได้ค่ะ แม่อาจจะได้ด้วย ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  แต่ให้พยายามช่วยเหลือตัวเอง   หางานทำ เก็บเงินคะ  มีตัวอย่างให้เห็นลักษณะ แบบนี้เลี้ยงลูกคนเดียว ขยัน อดทนก็ประสบความสำเร็จได้  แล้วถึงตอนนั้น คุณก็วางแผนเรื่องมีเงินเก็บฉุกเฉินไว้ในยามจำเป็นได้ค่ะ.

 

เงินสำรองที่เราควรมีไว้นั้น ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีอย่างน้อย หกเดือน ถึง หนึ่งปี หรือ ๑๒ เดือนเลย เพื่อเราจะได้ ไม่ต้องเครียดมาก  ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มีเงินสำรองขนาดนี้ จะมีรายได้ทันทีไม่เกิน สาม ถึง หกเดือน หรือ ไม่เกิน สองเดือน แต่ใครจะไปรู้ใช่หรือไม่ค่ะ.

 

เงินสำรองที่ว่านี้ไม่ใช่ “เงินจากพ่อแม่นะคะ” นั่นเรียกว่า มรดกค่ะ คนละส่วนกัน คนกลุ่มมีมรดก จะมีเงินสำรองตลอดเวลา แต่จะมีสักกี่คนที่มีแบบนั้นใช่หรือไม่ค่ะ. 

 

คนธรรมดาแบบเราทั่วไป คงไม่ได้พึ่งพอพ่อแม่ ญาติพี่น้อง  นอกจากมีแต่จะช่วยเขาเท่านั้น คนกลุ่มแบบคนเขียนคงจะเยอะค่ะ จาก ที่ฟัง ๆ อ่าน ๆ จาก กลุ่มต่าง ๆ

 

What we consider necessary expenses อะไรบ้างที่เราต้องเตรียมไว้ในกลุ่มเงินสำรอง

 

Housing ค่าที่อยู่อาศัย (ค่าผ่อนบ้าน หรือค่าเช่า)

Utilities ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์

Foods ค่าอาหาร

Credit cards ค่าบัตรเครดิต กรณีมีหนี้ติดบัตร หรือ จ่ายให้น้อยที่สุด

Kids clothes (only) ค่าเสื้อผ้าลูก ๆ (อาจจะไม่จำเป็น)

Shopping (not sure ) ค่าชอปปิ้ง (ตัดทิ้งไปเลย)

Eating out (not sure) ค่ากินข้าวนอกบ้าน (ตัดทิ้งไปเลย)

 

ถ้าเราทำตารางเงินสำรองที่แต่ละครัวเรือนควรมีคร่าว ๆ นะคะ น่าจะออกมาในรูปแบบนี้

ถ้าคุณสามารถค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ออกได้ที่ไม่จำเป็นให้เอาออกค่ะ

Description Amount/month 6 Month Year
ค่าที่อยู่อาศัย (ค่าผ่อนบ้าน หรือค่าเช่า)      1,200.00        7,200.00      14,400.00
ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์          200.00        1,200.00        2,400.00
ค่าอาหาร          600.00        3,600.00        7,200.00
ค่าบัตรเครดิต กรณีมีหนี้ติดบัตร หรือ จ่ายให้น้อยที่สุด          350.00        2,100.00        4,200.00
ค่าเสื้อผ้าลูก ๆ (อาจจะไม่จำเป็น)            50.00            300.00            600.00
ค่าชอปปิ้ง (ตัดทิ้งไปเลย)          100.00            600.00        1,200.00
ค่ากินข้าวนอกบ้าน (ตัดทิ้งไปเลย)            50.00            300.00            600.00
Health Care / Insurance      1,500.00        9,000.00      18,000.00
others            50.00            300.00            600.00
     4,100.00      24,600.00      49,200.00

 

บางคนบอกว่าเงินขนาดนี้จะหามาได้ไง   หาได้สิค่ะ  ก็คือต้องมีรายได้ตลอดค่ะ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกงาน อีกฝ่ายก็มีรายได้ค่ะ มีประกันสุขภาพให้ครอบครัว.

 

Personal experiences ประสบการณ์ส่วนตัวอยากแชร์

 

*ทำงบประมาณ การใช้จ่ายในครอบครัวตั้งแต่เป็นโสด ทำงานที่ไทย  เพราะกลัวเงินขาดมือ และมีภาระต้องดูแลแม่ และพี่น้อง เมื่อยามจำเป็น  ไม่เคยมีเงินขาดมือเคยเปลี่ยนงานแต่เงินก็มีมาตลอดเพราะทำงานหลายอย่าง  ไม่เที่ยวกลางคืน (ก็มีบ้าง) มีเงินเก็บตัวเองก่อนมาที่อเมริกา แม้ว่าไม่มากนัก แต่ก็สำรองให้แม่ได้ถึงหกเดือนแบบไม่เดือดร้อนและต้องส่งเสีย

 

**รู้ความเคลื่อนไหว เงินในบัญชีแฟน ก่อนแต่งงาน แต่ไม่อยากยุ่ง พอแต่งงานก็จัดการทุกอย่าง เห็นเงินในบัญชีหมด  แฟนรับราชการ รายได้ พอใช้ไม่เดือดร้อน สามารถนั่งอยู่บ้านเป็นมาดามได้  แต่ จะไม่มีให้แม่ที่ไทย และใช้จ่ายยามจำเป็น ไม่มีเงินไปเรียนต่อ ไม่มีเงินเที่ยว ไม่มีเงินเก็บอย่างที่ตั้งใจไว้ และทีสำคัญ ก่อนมาผ่อนบ้านที่ไทย ก็จะไม่มีปัญหาผ่อนต่อ 

 

***วางแผนว่าต้องทำงานอะไรก็ได้สักอย่าง เพื่อที่จะมีรายได้เพิ่ม ต่อยอดจากความรู้ที่มีมาจากเมืองไทย  สมัครงานมาตลอด ทำประวัติการทำงาน งานเสริฟก็ไปฝึกได้วัน  กะจะไปทำงานอีกที่เสริฟร้านฝรั่ง แต่แฟนบอกว่า ไปได้ถ้าขับรถเป็น เนื่องจากขับรถไม่ได้ จึงใช้เวลา ฝึกขับรถกับแม่สามี และเรียนเสริม พวกโปรแกรมบัญชีง่าย ๆ ควิกบุค เรียนภาษาองกฤษเสริมตอนเย็น    ต่อมาได้งาน(แบบโชคดีมา) ทำงานออฟฟิตด้วย รายได้เริ่มที่โอเค (ตอนนั้นไม่รู้ว่ามากหรือน้อย)  แต่แฟนบอกรายได้ใช้ได้เลย  ต่อมาถึงรู้ว่ารายได้มากกว่าหลาย ๆ คนมาก  สามีกับเราได้ถือโอกาสนี้ เก็บเงินใช้หนี้ ตอนนั้นลูกยังไม่มี หนี้ของแฟนที่มีจ่ายหมด ซื้อรถใหม่ เพราะเราต้องมีรถในการขับไปทำงาน  มีเงินสำรองถึงปี. 

 

****หลังคลอดลูกคนแรก ออกจากงาน ไปเรียนต่อ แต่ก็หางานไปเรื่อย ๆ ตามกฏของการเคลมคนว่างงาน แบบถูกให้ออก (จริง ๆ เราไปเจรจากับเจ้าของกิจการ ว่าให้ ให้ออก ไม่ใช่ดิฉันออกเอง  ทำให้เขาไว้เยอะ นายเลยโอเค  ออกเพราะไม่ถูกกับ ผู้บริหารคนอื่น)  ปล. ฝรั่ง นี่เวลาบีบคนให้ออก น่าเกลียดมาก  แต่ กรรมนั้นทราบว่าตามสนองท่านแล้ว เราก็อโหสิกรรมให้  เราก็ได้เรียนรู้อะไรมากมาย บางอย่างเราก็ควรไม่พูด ปิดปาก อย่าสร้างความไม่พอใจให้คนอื่น ออกมาดี ๆ อย่าพูดมาก.  เราใช้เวลาถึงสองปี ในการเรียนหนังสือ และมีรายได้จากการเคลมคนว่างงาน บ้าง สำหรับจ่ายค่าเดแคร์ลูกสาวคนโต เพราะต้องไปเรียน  ประกันสุขภาพมีหมด แฟนยังรับราชการช่วงนั้น.  ช่วงเราไม่มีงานประจำ เงินเราขาดไป แต่มีเงินสำรองได้เอามาใช้จ่าย และ จ่ายค่าเทอม บวกกับการกู้บ้างนิดหน่อย**

 

*****เรียนจบ ได้งานทำ เงินเดือนไม่มากเท่าเดิม แต่ก็มากกว่าอีกหลายคน เท่าที่ทราบมา เริ่มมีเงินเก็บ ชำระหนี้บ้านที่ไทย  มีเงินซื้อที่ที่ไทย ไว้ทำมาหากิน  เรียนตลอด พัฒนาตนเอง เปลี่ยนงานใหม่ตลอด (เงินเพิ่มบ้าง สะใจบ้าง แบบสบายใจ) เงินก็มีเหมือนเดิม   ที่สำคัญคือมีงานนอกเพิ่มขึ้น มีการรับงานธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น มีธุรกิจบริหารใหม่ ๆ จากผลพลอยได้  มีรายได้หลายแหล่ง  แต่ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง  เพราะ คาดว่าจะเกษียณก่อนอายุ ห้าสิบปี  แต่ มาฉุกคิดว่า เริ่มเที่ยวก่อนดีกว่า ไปเรียนต่อดีกว่า ทำไรใหม่ ๆ คนเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอด โลกเปลี่ยน เทคโนโยลีเปลี่ยน เปิดหูเปิดตารับไรใหม่ ๆ  เชื่อว่า ถ้าเราไม่อยู่นิ่ง ขวานขวาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ จะคอยช่วยตลอดทาง  อย่างไรก็ตาม ท่านจะช่วยคนที่มองหา  จู่ ๆ ท่านจะไม่ส่งมองอะไร ให้ท่านเช่น เงิน ความมั่นคง ความสุข สุขภาพ หน้าบ้านแน่นอน  สิ่งต่างๆ  เหล่านี้ ซื้อหาไม่ได้ต้องทำ และลงมือเอง.

 

**อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา ออกงานสังคม จะได้เห็นโลกกว้าง จะได้รู้ว่าคนทั่วไป เขาทำมาหารับประทานอะไร  มีความรู้ไรบ้าง มีโอกาสใหม่ ๆ ไรบ้าง**

 

ที่มา                            :  จากที่เห็นมาด้วยตา ขณะที่ใส่แว่นและถอดแว่น

 

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                            :  วันศุกร์ที่  ๓ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑,  

     Friday, August 3rd, 2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**