Don’t give people Fish, but teach them how to Fish!

Don’t give people Fish, but teach them how to Fish!

อย่าสับว่าเอาแต่ให้ สอนให้คนนั้นเรียนรู้ด้วยตัวเองดีกว่าเพราะมันยั่งยืนกว่า

________________________________________________________

 

ช่วงนี้งานยุ่งมาก มาก แบบ ไปไหนไม่ได้ ถ้าหนี ก็เสียชื่อเสียหน้ากลุ่มวิชาชีพเดียวกัน ถ้าทำไม่ดีก็เสียอีก  แม้ว่าจะระทมแค่ไหนก็จำใจทำ ไม่ใช่เพราะเงิน แต่เพราะ “หน้าตา ทางวิชาชีพ”.  ไม่ว่าเราจะมีอาชีพใด ๆ ก็ตาม (ทุกอาชีพไม่จำเป็นต้องมีลายเซ่นไร) ให้ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ เท่าที่ความสามารถที่เรามี และทรัพยากรที่เรามีอยู่รอบด้าน. 

 

เนื่องจากได้พิจารณากลั่นกลองแล้วว่า เป็นผู้รับมากกว่า ผู้ให้ จึงมีความเห็นใจต่อกลุ่มผู้ให้เป็นอย่างมาก  กลุ่มที่ให้เรา คือมีทั้งแบบที่มองไม่เห็น คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ครุ้มครองครอบครัวของเราให้อยู่เย็นเป็นสุข และกลุ่มที่มองเห็น ก็ผู้มีอุปการะคุณทั้งหลาย จึงพยายามตอบแทน โดยการให้ความรู้แก่คนอื่น (ย้ำไม่ใช่เงิน).

 

วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการช่วยเหลือคนอื่น จากประสบการณ์ของตัวเอง

 

มีคนสอบถามปัญหามามากมายหลายปี ตั้งแต่เป็นวารันเทียให้กับกลุ่มกฏหมาย และ ภาษี การขอความเห็นจากหลาย ๆ คน มีกระทั่ง การหาโรงเรียนให้ลูก การซื้อบ้าน การหย่าไม่หย่าดีมะ การเรียนอะไรดี การขอให้ช่วยแปลเอกสารต่าง ๆ สิ่งที่กล่าวมานั้น แทบจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเลย และไม่ได้เรียนมาทางนั้น  สิ่งที่เรียนมาและถนัดคือ บัญชี ธุรกิจ ภาษีอากร.

 

ช่วงแรก ๆ ยินดีช่วยตลอด จัดให้หมด  ต่อมาเริ่มเหนื่อย และเริ่มคิดได้ว่า เอ ถ้าเราป้อนข้อมูล แปล ข้อมูลขนาดนั้น เมื่อไหร่คนนั้นเขาจะช่วยเหลือ ตัวเองได้ ไม่ต้องคอยขอความช่วยเหลือคนอื่น เราก็เลยเริ่มเบา ๆ ลง ให้แค่คำแนะนำ ที่สำคัญคือไม่มีเวลามากมาย อะไรเลย ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับทุกคน  มากไปกว่านั้น เรื่องราวปัญหาของตัวเอง ยังต้องหาทางออกด้วยตนเองเสมอ. 

 

พอช่วยคนและแนะนำคนมาเยอะ จะสังเกตุได้ว่า คนนั้นเป็นคนอย่างไร พอเราได้ช่วยแล้ว ได้ไปช่วยคนอื่นต่อไม๊  กลับมาถามหาความช่วยเหลืออีกไม๊  ทักมาแค่ต้องการความช่วยเหลือหรือเปล่า ซึ่งก็มีหลายแบบ  บางคน เราแทบไม่เคยช่วยไรเขาเลย เขาแค่มาอ่านบทความและเอาประยุกต์ใช้ และมาขอบคุณ ที่แนะนำสิ่งต่าง ๆ ให้.  บางคน มาแค่หาข้อมูลได้แล้วก็กลับไป  เราก็มองออก ออ นิสัยของเขาเป็นแบบนั้นเอง  เราไม่ได้ว่าไรนะ

 

แต่มีบางกลุ่ม ที่ขอมากเกินไปจนไม่รู้จักคำว่า “พอ”  และไม่รู้จักมารยาทในการขอ  บางคนการศึกษาสูงมาก บางคน การศึกษาแทบไม่มีเลย ฉะนั้น เรื่องการ “ขอ” และ การ “ให้” จะไม่มีเรื่องการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องฉันใด การให้หรือไม่ให้ตอบก็ไม่ใช่เรื่องการศึกษาฉันนั้น.

 

ประเภทของความเดือดร้อน

 

เดือดร้อนเรื่องเงินทอง

 

มาจากหลายสาเหตุของกลุ่มที่เดือดร้อนเรื่องเงิน  สาเหตุหลัก ๆ คือ รายได้มาไม่พอกับรายจ่าย หรือ มีสมบัติหนี้ที่ต้องชำระมาก่อนและ ทำงานหารายได้เข้ามาไม่ทัน หรือ มีภาระหนี้สินแบบไม่ตั้งใจมาก่อน  หรือ เล่นการพนัน หรือ รายได้มาจากครอบครัวคนเดียว ถ้าคนในครอบครัวคนนั้น หมดรายได้ ก็ทำให้ ครอบครัว ต้องขัดสน.

 

การช่วยเหลือคนมีปัญหาเรื่องเงิน  ส่วนใหญ่ คือ “การให้ยืมเงิน”  ซึ่งก็ทำให้มีปัญหาเพิ่มอีก เพราะ ถ้าเขาไม่มีเงิน พอให้ยืมไป แล้วเมื่อไหร่จะมีเงินมาคืน. มีหลักทรัพย์อะไรค้ำประกันการกู้ บ้าง.  การให้ยืมเงิน มีความเสี่ยงสูงมากที่จะไม่ได้เงินคืน และสูญเสียความสัมพันธ์ต่าง ๆ นา นา

 

วิธีการช่วยที่ถูกต้อง คือ การให้คนเหล่านั้น หารายได้ของเขาเอง  ดูว่าคนเหล่านั้น มีทักษะอะไรบ้าง มีพื้นฐานอะไรบ้าง  ถ้าไม่มีมาเลย ต้องไปเรียน การไปเรียนก็ต้องมีเงิน ถ้าไม่มีเงินก็ไปเลย  กระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือคนว่างงาน อบรม อาชีพใหม่ ๆ มีนะคะ มีทุกเมืองด้วย Department of workforce services มาสอนไรให้ฟรีเยอะ แยะ ทั้งช่วยเรื่องประวัติการทำงาน ต่าง ๆ .

 

สำหรับคนที่มีพื้นฐานการศึกษา ช่วยให้เขาหางานทำ มีรายได้เป็นของตัวเอง  สอนงานให้ แนะนำให้  งานทุกอย่าง เช่น เสริฟ ทำงานโรงงาน งานห้าง ถือว่าเป็นงานสุจริจ และมีเป็นการเริ่มต้นที่ดี สำหรับ คนที่ยังไม่เคยทำงาน เพื่อจะได้ปรับตัวให้ไปสู่ตลาดแรงงานต่อไปในอนาคต. 

 

ส่วนเราเอง ไม่มีนโยบายให้ใครยืมเงินเป็นอันขาดค่ะ เพราะไม่ใช่ธนาคาร เป็นคนคอยเตือนคนอื่น เรื่องการวางแผนการเงินเสมอมา และเป็นคนประหยัด รอบคอบในการใช้เงิน มีการใช้ชีวิตที่พอเพียง มีเงินที่จะช่วยเหลือทางบ้านได้ ไม่อยู่นิ่ง เรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ และทำงาน หลายๆ จ๊อบ ในคราวเดียวกัน. ทราบว่าต้นทุนแต่ละคนมีมาไม่เท่ากัน และต้นทุนคนบางกลุ่มมีน้อย แต่มีความพยายาม ขวายขวาย ก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน.

 

การสอนคนให้มีอาชีพ เป็นการสอนที่ยั่งยืน “มีวิชาเหมือนมีทรัพย์เป็นนับแสน” อันนี้ใช้ได้ทุกยุคสมัยค่ะ.  การศึกษาสำคัญที่สุดไม่ว่าเราจะอยู่ประเทศไหนของโลกนี้.

 

เดือดร้อนเรื่องครอบครัว

 

สาเหตุคือความต่างระหว่าง บุคลิกภาพ ก่อนแต่งงานหลังแต่งงานแตกต่างกัน พฤติกรรมทางการเงิน ทางด้าน ความรับผิดชอบต่างกัน

 

เดือดร้อนแบบนี้ ต้องช่วยเหลือตัวเอง หันหน้าคุยกันในครอบครัว ก่อนที่จะตัดสินใจ หย่ากันให้วุ่นวาย  และก็ต้องคุยกันตอนไม่โกรธ  เราก็เป็นค่ะ พอโกรธนี่จะแรงมาก  จะไม่เจรจาไรกับแฟนถ้าโกรธ ต้องรอให้เย็นลง.   การเลิกรักกันในอเมริกา ถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำในสังคม  ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่มันก็เกิดขึ้น หลัก ๆ ระหว่างคนไทยกับอเมริกัน คือ พฤติกรรม และ ปัญหาการใช้เงินของทั้งสองฝ่าย. พฤติกรรมที่ว่า คือเมียไทย ส่งเงินให้กับทางบ้าน แต่ทางฝั่งอเมริกาไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องทำ. ส่วนเรื่องเงินคือ ผู้ชายทำงานคนเดียว ผู้หญิงใช้เงินอย่างเดียว เงินไม่พอ ผู้ชายหนี้เยอะมาก ผู้หญิงต้องมาทำงานช่วยใช้หนี้ พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ได้บอกว่าใครผิดถูก  แค่พลาดตรงก่อนแต่งงาน อาจจะไม่ได้ เปิดเผย ถึงพฤติกรรม ที่เป็นตัวตนของคนเหล่านั้น.

 

ช่วยคนอื่นกรณีแบบนี้คงยาก นอกจากจะให้ ครอบครัว เปิดอกเคยกันเรื่อง หนี้ เรื่องเงิน เรื่องการส่งเงินให้ครอบครัว หรือฝ่ายหญิงที่ต้องส่งเสียครอบครัว จะแนะนำให้ไปหางานทำนอกบ้าน จะได้ไม่ต้องใช้เงินอีกฝ่าย  ถ้าเรื่องหนี้เยอะ ก็ต้องให้อีกฝ่ายใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ประหยัด วางแผนการใช้หนี้ให้จบ ก็มีนะคะ แต่งงานหนี้เยอะมาก ฝ่ายชาย เมียต้องมาช่วยประหยัดใช้หนี้ และสั่งให้เลิกใช้จ่ายไร้สาระ เขาก็สร้างตัวกันได้ และอยุ่กันได้. แต่ก็มีหลาย ๆ คู่ที่ต้องหย่าร้าง ทั้งแบบละมุนละไม  หรือแบบ สะบักสะบอม มีสารพัดเลย.

 

เดือดร้อนเรื่อง พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ได้

 

เดือดร้อนแบบนี้ คงช่วยไรไม่ได้มาก นอกจากจะแนะนะให้ไปเรียนต่อ หรือไปทำงาน และยอมทนให้คนเขาว่า เพราะจะได้ฮึดสู้ การฝึกฝนที่ดีที่สุดคือการใช้งาน.  หลาย ๆ ครั้ง ไปเรียนมา แต่ถ้าไม่ได้ใช้งาน ก็ทำมาหารับประทานอะไรไม่ได้ค่ะ.  เช่นนะคะ กลุ่มที่เรียนออนไลน์  ถ้าไม่ออกไปหางานทำ ไปพบปะคนแปลกหน้า นอกจากสามีและครอบครัวสามี ภาษาก็จะอยู่แค่นั้นค่ะ และไม่รู้ว่า คนอื่น จะฟัง เรารู้เรื่องหรือไม่  เพราะที่เห็น ๆ มา ก็เยอะ พอไปเจอสนามจริง ก็ท้อ เนื่องจากทำไม่ได้ดั่งใจหวัง.   ถ้าเป็นเรานะคะ เราไปทำงานเลย ใครว่าฉลาดน้อยช่าง ไม่สน ฝึกฝนตลอดเวลาค่ะ เจอไม่เรียนมาเลย มาเรียนที่นี่ได้ภาษาเด๊ะ  แม้ว่าภาษาไทยของเรายังอ่านไม่ค่อยออก ยอดเยี่ยมนะคะ.  ก็มีบางกลุ่มที่เรียนสูงมาแล้ว เรียนภาษาอังกฤษมาแล้ว แต่เรียนแบบบ้านเรา ก็รู้กันอยู่ ได้แกรมม่า แต่อย่างอื่น ไม่ได้เลย ทำให้ไม่กล้าออกไปหางานทำ กลัว สารพัดกลัว กลัว ฝรั่ง สารพัด ซึ่งฝรั่งเขาก็คนเหมือนเรา ไม่รู้จะไปกลัวทำไม  มีทั้งคนดี คนดีน้อย คนน่ารักมาก น่ารักน้อย  เจอคนน่ารักมาก ก็จะพยายามคุยกับเราช่วยสอนเราสารพัด ต้องคนกับสายตาที่เขามองว่าเราฉลาดน้อยหน่อยก็ดีค่ะ  และก็ไม่ต้องไปอวดภูมิปัญหามากว่าฉันอยู่เมืองไทย เก่ง แน่ ระดับ ไหน เก็บไว้ที่ประเทศไทยค่ะ  ถ้าเผลอเอาติดตัวมา ก็กองไว้ที่บ้าน กับ สามีฝรั่งนะคะ อย่าเอามาใช้นอกบ้าน เพราะนอกจากจะไม่รุ่งโรจน์แล้ว ยังโรยราได้ง่ายด้วยค่ะ.

 

เดือดร้อนเรื่องธุรกิจ

 

เช่น ทำมาหากินเท่าไร ก็ไม่มีกำไร มีแต่เข้าเนื้อ เช่นเจ้าของร้านอาหารไทย บางกลุ่ม ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย และมีการขอคำปรึกษาว่าต้องทำอย่างไร ยื่น เป็นบุคคลล้มละลายดีไม๊  แล้วเราพอช่วยไรได้บ้าง 

 

เรื่องแบบนี้ก็ได้แต่บอกให้ขายกิจการ และใช้หนี้และไปเริ่มต้นใหม่ และก็เรียนรู้จากข้อผิดพลาด การยื่นเป็นบุคคลล้มละลาย แค่ลดหนี้กับเจ้าหนี้เท่านั้น และมีกฏเกณฑ์เยอะมาก เครดิตก็เสียอีกหลายปี 

 

เรื่องธุรกิจ ถ้าต้องป้องกันการเจ๊ง  ก็ต้องศึกษาให้ดี ๆ ไม่มีใครบอกได้ว่าทำไปแล้ว จะมีกำไร  บางคน บอกแค่ทำพอเลี้ยงครอบครัว ดันรวย ฟู่ฟ่า บางคน ทำประมาณการจะกำไรเท่านี้ แต่ก็หมดตัว ไม่มีใครช่วยเจ้าของธุรกิจได้นอกจากตัวเอง และการวางแผนที่รัดกุม ก่อนการตัดสินใจลงทุน  การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง อาจจะมากน้อยขึ้นอยู่กับกรณีไป. 

 

เดือดร้อนเรื่องชาวบ้าน ที่ไม่ใช่ธุรกิจของตัวเอง

 

เดือดร้อนลักษณะนี้ต้อง หาวิธีช่วยตัวเองโดยการที่ไม่ยุ่งเรื่องของชาวบ้าน โดยปริยาย แต่คนกลุ่มนี้ ทำได้ยากมาก. จากการสังเกตุพฤติกรรมทางผู้ใช้เฟคบุคออนไลน์ทราบว่า คนส่วนใหญ่ (รวมถึงผู้เขียน) มักจะ ยุ่งเรื่องชาวบ้านไม่ทางตรง หรือทางอ้อม.

 

จะสอนคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์ยังไงนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับใจของคนนั้นด้วย  ถ้าใจไม่สงบก็คงจะทำไรมากไม่ได้

 

สอนคนที่มักจะยุ่งเรื่องธุรกิจคนอื่นนั้นยากเย็นแสนเข็ญนัก  และไม่มีความสามารถในจุดนั้นเลย  เพราะต้องสอนตัวเองก่อนเช่นกัน ตอนนี้ก็สอนตัวเองให้ห่าง ๆ กับ หลายๆ เรื่อง

 

 

ผู้ให้ ,  ควรจะยั้งคิดว่า การที่เราให้เขานั้นมันยั่งยื่นไม๊  ต่อไปจะช่วยเหลือตัวเองได้ไม๊ และทำอย่างไรให้เขาไม่ต้องกลับมาขออีก

 

ผู้รับ, ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่มีใครจะมาช่วยคุณได้ตลอดค่ะ  คนต้องการความช่วยเหลือเยอะมากมาย คนขอมีมากกว่าคนให้เสมอค่ะ  เราขาดอะไรก็หาเพิ่มค่ะ  ช้าหน่อย แต่ชัวร์ ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน เรื่อง ภาษา เรื่องครอบครัว

 

ที่มา                            : ประสบการณ์ส่วนตัว

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

วันที่                            :  วันเสาร์ที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๖๑,  Saturday, July 7th ,  2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**