How to prepare for your career (current, future, unknown)?

How to prepare for your career (current, future, unknown)?

เตรียมตัวอย่างไรกับการการทำงาน บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน

________________________________________________________

 

ไม่ได้เขียนขึ้นมาเตือนใจสำหรับคนที่มีการงานทำปัจจุบัน หรือคนที่ต้องการทำงานในอนาคต  อันนี้รวมถึง คนที่ไม่ได้ทำอะไร นอกจากดูแลครอบครัวด้วยนะคะ (ถ้าคุณอยากอ่านนะ ถ้าไม่สนใจก็ผ่าน ๆ นะคะ)

 

คนเขียนอยู่อเมริกามาเกือบ สิบเอ็ดปีแล้วค่ะ  เห็นความไม่มั่นคงทั้งครอบครัว เศรษฐกิจโดยภาพรวม เศรษฐกิจ ในครัวเรือน การทำงานในบริษัทต่าง ๆ ตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ  เหมือนกับว่าทุกอย่างเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  มีเกิด มีดับ มีอับปาง ฉันใด ความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้นได้ฉันนั้น.

 

งานประจำ

 

สำหรับคนทีทำงานประจำ  ไม่จำเป็นว่าจะเป็น งานร้านอาหาร  งานโรงงาน งานบริษัท. เราจะเตรียมตัวเราอย่างไรเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น ในระยะเวลาอันใกล้ และ ใกล้มาก.  มีตัวอย่างให้เห็นจากประสบการณ์ตรง ประสบการณ์จากเพื่อนฝูง  รวมถึงประสบการณ์ที่ได้อ่านจากคนอื่น ที่ไม่ได้ปั้นน้ำเป็นตัว ซึ่งเราใช้วิจารณาณในการอ่านเท่าที่จะทำได้. แน่นอนที่สุด คือสิ่งที่เกิดกับตัวเราเองและเพื่อนๆ  ที่รู้จักกันมานาน.

 

ให้กลับมามองตัวเราว่า งานที่เราทำอยู่ ทักษะที่เรามีอยู่นี่ สามารถทำงานที่ไหนก็ได้หรือเปล่า  ทักษะอย่างเราหาได้ง่ายมากไม๊ในท้องตลอด  ถ้าเราถูกให้ออกจากงานเราหางานทดแทนได้หรือไม่.  งานที่เราทำอยู่นี่ เรามีไรที่แตกต่าง มีทักษะแปลก ๆ กว่าชาวบ้านไม๊  เช่น ทำร้านอาหาร เราแกะสลักได้  ทำงานโรงงาน เราเรียนรู้เร็ว เราถูกส่งไปอบรม ทักษะใหม่ ๆ ที่อาจจะเป็นผลประโยชน์.  อย่างเราทำงานบัญชี การเงิน  เรามีไรแตกต่างจากคนอื่นบ้าง  เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่าง ๆ ที่มามานอกจากทักษะหลักที่เรามี.

 

ถ้าเราไม่มีไรเลย  ให้มองหาช่องทางในการเพิ่มค่าให้กับตัวเอง  เช่นคนทำร้านอาหาร อาจจะขยับขยาย จากทำงานร้านไทย ไปร้านฝรั่ง เพราะมีสวัสดิการ มีระบบที่ดีกว่า แต่อาจจะขอให้ฝรั่งจ่ายเงินสดไม่ได้  คนทำใจได้จุดนี้ก็จัดไป  ถ้าเราอยากทำไรให้ถูกต้องอยู่แล้ว หางานไรที่มีระบบ.  ทำงานโรงงานเช่นกัน  เราก็ขยับขยายเป็นหัวหน้างาน  ทักษะอะไรที่หัวหน้างานต้องมี หาโอกาสเรียนเพิ่มตอนเย็นหลังเลิกงาน เพราะส่วนใหญ่โรงงานมีจ่ายค่าเรียนให้พนักงานด้วย.

 

กำลังมองหางาน เนื่องจากไม่มีประสบการณ์เลย หรือ มีประสบการณ์มาจากไทย

 

ประสบการณ์ในการทำงานสำคัญมากในการทำงานของอเมริกา โดยเฉพาะงานออฟฟิต ทั่วไป ถ้าไม่มีประสบการณ์ต้องหาฝึกงาน หรือ หาทักษะที่โดดเด่น  เพื่อดึงดูด นายจ้าง. หรือไปลงเรียนเพิ่ม  และมีทักษะที่นายจ้างต้องการ  ส่วนใหญ่นายจ้างจะมองคนที่คอยพัฒนาตัวเอง  สม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องเก่งมากมายไรเลย. เพราะนายจ้างสามารถฝึกฝนได้เสมอ.

 

ลงคอร์สสั้น ๆ เพื่อจะได้หางานที่เราต้องการ เช่น เราอยากทำฟัน ผู้ช่วยหมอฟัน เราก็ไปลงเรียนเลย งานแบบนี้ไม่ต้องมีประสบการณ์ อาจจะท้าทายหน่อยกว่าจะได้งาน  ให้ตีสนิทกับอาจารย์ให้มาก ๆ เพราะเขาจะมีเพื่อนฝูง แนะนำงานให้เราได้ หรือเพื่อร่วมชั้นเรียนด้วยกัน  แบบนี้เหมาะกับคนที่จะเปลี่ยนสายงาน เพราะบางคนมีประสบการณ์ มาจากไทยแต่ไม่สามารถประยุกต์ใช้กับที่นี่ได้  งานบางอย่างจากไทย เอามาต่อยอดได้เช่น พยาบาล วิศวะกร แต่งานด้านประชาสัมพันธ์ หรือเลขาคงจะต่อยอดยาก ถ้าภาษาไม่แน่น  เว้นแต่ว่าเจ้าตัวภาษาดี หางานด้านนี้ได้เลย  แต่ ๆๆๆ คนอเมริกัน คงไม่อยากจ้าง เราเป็น ประชาสัมพันธ์ เพราะลังเลเรื่องภาษา  ไม่ได้บอกให้ท้อค่ะ พูดความจริงที่เจอมา

 

ไม่เคยทำไรเลย เป็นคุณนายอย่างเดียว มาก็เลี้ยงลูก หรือไม่ได้เลี้ยงลูก หรือจ้างคนเลี้ยง

 

ถ้าที่บ้าน ที่เมืองไทย หรืออเมริกา มีเงินมากมายก็ไม่เป็นไร อะไรจะเปลี่ยนก็ยังมีเงินใช้สอย แต่ถ้าสามีทำงานประจำ ก็อาจจะสั่นคลอนได้  ถ้าสั่นคลอนเรามีเงินสำรองจากไทย จากบ้าน ก็ไม่ต้องกังวล และเงินสำรองนั้นมีมากมายก็ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องทำอะไรต่อไป

 

แต่ถ้างานประจำทีสามีทำอยู่ไม่แน่นอน  สั่นคลอน เงินเก็บไม่เยอะ  เราในฐานะภรรยาจะทำอะไรช่วยครอบครัวได้บ้าง เช่น มีงานเสริมหรือไม่ เพื่อจะพยุงค่าใช้จ่ายให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้  ถ้าไม่มีลูกก็ไม่น่าห่วงมากนัก  แต่ถ้ามีลูก ๆ ก็ควรจะหาแผนสำรองให้กับครอบครัว  อาชีพที่เหล่าแม่บ้านทำกันมากคือ ขายอาหาร (ไม่ขอวิจารณ์เรื่องภาษีอากร) ตราบใดที่ทำมาหาเลี้ยงชีพ ช่วยครอบครัวได้ ก็ยังดีกว่าที่ไม่ทำไรเลย  ขายตรง  รับงานแปล ภาษาอังกฤษดี  ไปทำงาน พาร์ทไทม์  มีรายได้เล็กน้อย หลังจากส่งลูกเข้าเรียน. แนะนำให้เริ่มหาคอร์สสั้น ๆ เรียน เพราะบางงาน ทำงานเป็นกะ กลางคืน เห็นเพื่อนที่มีครอบครัว แฟน ทำงานตอนกลางวัน ภรรยาทำงานเป็นพยาบาล กะดึก  แบบไม่ต้องจ้าง เดแคร์เลย . 

 

ขอให้ทุกท่านเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนแบบไม่เดือดร้อนและใช้ชีวิตปกติ

 

ที่มา                            : ประสบการณ์ส่วนตัว

 

เรียบเรียงโดย            : แหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ไม่ใช่ทนาย)

 

 

วันที่                            :  วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑,  Tuesday, June 18th ,  2018

 

Practitioners advising clients on the financial and tax consequences of entity alternatives is not viewed as a practice of law.  การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าถึงเกี่ยวกับทางภาษีอากรและการเงินเกี่ยวกับโครงสร้างกิจการ ไม่ถือว่าเป็นการให้ทำปรึกษาด้านกฏหมาย

 

**I am not an attorney, this article is only for information and comments about investment and taxes.**

**ดิฉันไม่ใช่ทนายค่ะ บทความนี้ทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากรและเกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น.**